วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการใช้ blog พร้อมทั้งข้อดี ข้อเสีย

ประโยชน์และความสำคัญของ Blog
ฺBlog ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ส่วนใหญ่) ใช้งานง่าย ...โดยผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษา หรือโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ เลยก็ย่อมได้ สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่าย บนหน้าจอ ณ เวลานั้นเลย แต่หากจะมีความรู้เรื่องภาษา Html ก็จะยิ่งดีมากๆ เพื่อช่วยในการปรับแต่งในขั้นลึกยิ่งขึ้น...ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมาย กว้างขวางยิ่งกว่า ไดอารี่ หรือบันทึกส่วนตัวทั่วๆ ไป

ประโยชน์ของ Blog สามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
  2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
  3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
  4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
    และอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อดี ข้อเสีย ของ blog และ Web ในความคิดของเรา

  • ข้อดี ของ blog โดยเฉพาะของ blogger.com ซึ่งเป็นเจ้าเดียวกับกูเกิ้ล ก็คือไม่ต้องจ่ายตังค์ เสถียรดี แรงดี ไม่มีตก กูเกิ้ล approved ง่าย ถ้าอยากจะสมัครแบบผ่านง่ายๆ ก็ใช้บริการ blogger ได้เลย จากนั้น ค่อยเอา code มาใช้ เวลาเราทำเวบจริง
  • ข้อเสีย ก็คือ ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะดูเหมือน เราอาศัยเวบคนอื่นเค้า ถ้านานๆ ไป เค้าเอาพื้นที่เค้าคืน เราก็แย่เลยข้อเสีย อีกอย่าง ที่ทำให้เหนื่อยมาก ก็คือ ต้องทำหลายๆ บล๊อก เพราะถ้าบล๊อกชื่อเดียวก็เรื่องเดียว ถ้าจะทำหลายๆ เรื่องในบล๊อกเดียว keyword ที่วิ่งมาหา ก็มั่ว สะเปะสะปะอีก ก็เลยต้องทำหลายๆ บล๊อก ให้มัน link กันแถมทำบล๊อกนึงเสร็จ ก็ได้ชื่อนึง ก็ต้องมานั่งทำ channel , submit ทีละเวบ ทีละชื่อ เหนื่อยแย่เลยข้อดีของการทำเวบที่เห็นได้ชัดๆ เลยตอนนี้ ก็คือ โปรโมทหนเดียว ในทุกๆ ที่ traffic ที่มา ก็มาเวบเรา เราทำ subDomain เยอะ เค้าเข้ามาเวบเราแล้ว ถ้าเห็น content ดีๆ น่าสนใจ เค้าก็จะเปิดเวบเราหลายๆ หน้า อาจจะเจอโฆษณาที่มีเนื้อหาตรงใจ ตามที่ต้องการเราไม่ต้องนั่ง submit channel ทีละ blog, submit เวบต่างๆ ทีละ blog เข้าไป submit หลายๆ เวบ ก็เสียเวลาค่อนข้างมาก สู้ทำเวบเดียว หลายๆ หน้า หลายๆ เรื่อง ถ้าจะโปรโมท ให้เฉพาะเจาะจง ก็ทำ landing page มาก็ได้ส่วนข้อดี ก็คือ ต้องจด Domain เช่า hostก็เอาเป็นว่า แล้วแต่ความคิดใคร นะคะ ส่วนตัว ตอนนี้ ทำ blog แต่กำลังจะทำเป็นเวบเลย เร็วๆ นี้ค่ะ

Data Ware house


Introduction to Data Warehouse

  • นิยามของ Data Warehousing
    Data Warehouse คือ ที่เก็บข้อมูลที่เป็นกระบวนการรวบรวม เรียบเรียง และจัดเตรียมสารสนเทศ ( information ) เชิงกลยุทธ์
    Data Warehousing Solution คือ กระบวนการที่รวบรวมสารสนเทศ มีหน้าที่ดังนี้
    - เรียกดู หรือเรียกใช้ข้อมูลจากระบบแหล่งข้อมูล
    - แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ได้ แล้วเก็บไว้ที่ Data Warehouse
    - จัดการฐานข้อมูล
    - ใช้ Tools เพื่อสร้างและ Managing Data Warehouse
    Data Warehouse
    Data Warehouse คือกระบวนการจัดเตรียม สารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบริษัท โดยบริษัทสามารถใช้ข้อมูล ใน Data Warehouse เพื่อแสดงแนวโน้ม, รูปแบบการซื้อของลูกค้า และ ความสัมพันธ์
    Data Warehouse เป็นฐานข้อมูลที่ประกอบด้วย
    - Enterprise data
    - Historical data set จาก multiple operational systems
    - Subject-oriented consolidated และ consistent data
    - Structured data ที่ง่ายต่อการกระจาย (distribution) และ query
    ระบบการวิเคราะห์ของ Data Warehousing Solution
    ระบบการวิเคราะห์ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับ กลยุทธ์, ความกว้างของข้อมูลในdata warehousing solution อีกทั้งยังเป็นกระบวนการจัดการฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ โดยมีเครื่องมือที่ช่วยลดความยุ่งยากในการวิเคราะห์
    ระบบการปฏิบัติของ Transactional Solution
    โดยทั่วไป ระบบแบ่งได้เป็นหลักการปฏิบัติ หรือหลักการวิเคราะห์ โดยยึดองค์ประกอบ ของระบบและ หน้าที่ที่ระบบจัดให้กับองค์กรเป็นหลัก
    ระบบการปฏิบัติจะกล่าวถึงใน Tracking Individual Events โดย Operational Systems มักจะหมายถึง ระบบ Online Transaction Processing (OLTP) ที่ออกแบบมาสำหรับ real-time data entry และ editing
    การเปรียบเทียบ Transactional and Data Warehousing Solutions
    Transactional และ Data Warehousing Solutions สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน โดยทั่วไป Operational Systems จะค้นหาและตอบสนองเฉพาะเหตุการณ์ ในขณะที่การวิเคราะห์ระบบจะอนุญาตให้วัดและประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ ภายหลังจากเกิดขึ้นด้วยค่าขนาดใหญ่
    Transactional Solution มีลักษณะของข้อมูลดังนี้
    - สามารถแก้ไขตามเวลาจริง ๆ
    - โครงสร้างมีความสอดคล้องกันของข้อมูล
    - การวิเคราะห์เพื่อให้การทำงานของ Transactional เร็วขึ้น
    หากตัดสินใจใช้ Transactional Solution ในการวิเคราะห์ การทำ query อาจต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยๆ
    Data Warehousing Solution มีลักษณะของข้อมูลดังนี้
    - แก้ไขเป็นระยะๆ
    - เป็นโครงสร้างซึ่งนำไปใช้ได้ง่าย
    - การวิเคราะห์เพื่อให้การทำงานของ query มีประสิทธิภาพ
    Data Mart คือ data warehouse ขนาดเล็กนั่นเอง ข้อมูลใน Data Mart เป็น subset ของ data warehouse ซึ่งมีลักษณะดังนี้ :
    - มีลักษณะเฉพาะของแต่ละเรื่อง/หัวข้อ หรือ ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจ
    - สามารถใช้เป็นยุทธวิธีเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจในทันทีทันใด
    เราสามารถสร้าง Data Marts ก่อนหรือหลังจากการสร้าง Data Warehouse ก็ได้
    ทำไมจึงมีการสร้าง Data Marts ขึ้นมา
    เราสามารถสร้าง Data Warehouse โดยปราศจาก Data Mart ได้เช่นเดียวกันกับการสร้าง data Mart โดยปราศจาก Data Warehouse ได้ อย่างไรก็ตามการสร้าง Data Mart ก่อให้เกิดผลดังนี้
    - มีความเร็วในการ query สูงเพราะว่ามีข้อมูลน้อย
    - มีการแย่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ระบบด้วยกันน้อย
    - สามารถปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว
    กระบวนการใน Data Warehousing
    กระบวนการทำงานพื้นฐาน
    รูปที่ 1 แสดงการทำงานโดยพื้นฐานของ Data Warehouse
    Data Warehousing Solution เป็นกระบวนการที่
    1. เรียกดูหรือเรียกใช้ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง อย่างเช่น ระบบการปฏิบัติ หรือ ข้อมูลภายนอก
    2. ข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงแล้ว ซึ่งแหล่งข้อมูบมักจะมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเก็บไว้ใน data warehouse
    3. ย้ายเข้าไปอยู่ใน Data Warehouse
    4. จะอยู่ใน Data Marts หรือไม่ก็ได้
    5. Query data โดยใช้ เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์
    จากกระบวนการทั้งหมด Metadata จะถูกเก็บ ดังนั้นเราจึงใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลได้ อย่างเช่น :
    - คำนวณค่าได้อย่างไร
    - แหล่งของข้อมูล
    - วันที่มีการปรับปรุงข้อมูลครั้งสุดท้าย
    เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการกระบวนการ
    Microsoftâ SQL Serverä version 7.0 ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจ และ เครื่องมือในการวิเคราะห์ data warehousing ซึ่งได้แก่
    SQL Server คือ relational database management system ที่ใช้จัดการกับ data warehouse
    Data Transformation Services (DTS) อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบย้ายข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลที่ต่างกันลงในฐานข้อมูล เราสามารถใช้ข้อมูลขณะที่ย้ายหรือปรับปรุงค่า และ DTS ยังสร้างค่าสรุปจากข้อมูลเบื้องต้นได้
    SQL Server OLAP Services จะสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบ multidimensional ที่เรียกว่า “cubes” OLAP Services มีเครื่องที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงการทำ queries
    Microsoft Repository เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บ consistent metadata ที่มีมาตรฐานในการอธิบายสารสนเทศแบบ object-oriented โดยมาก metadata มักจะเก็บ ใน SQL Server หรือ Microsoft Access databases ที่สามารถ accessed โดยผ่าน administrative interfaces Microsoft Repository สนับสนุน Component Object Model (COM) และ Automation programming, data tracking, และ object versioning
    Microsoft English Query อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบทำการ query data warehouse โดยใช้ ภาษาอังกฤษแทน SQL statements ได้ ดังนั้นผู้ใช้ระบบไม่มีความรู้เกี่ยวกับ join, field names และ Transact-SQL syntax สามารถถามคำถามกับ data warehouse และ รับข้อมูลได้
    PivotTable Service อนุญาตให้วิเคราะห์บนคอมพิวเตอร์ที่เป็น client ได้ ข้อมูลย่อยสามารถเก็บไว้บน client ได้ ดังนั้นการวิเคราะห์จึงเร็วกว่าและ client จะใช้ข้อมูลจาก server โดยผ่าน network ได้ Client ที่ไม่ได้ติดต่อกับ network ข้อมูลจะไม่ถูกวิเคราะห์
    ข้อมูลใน Data Warehouse
    เมื่อสร้างData Warehouse เราจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำหรับวิเคราะห์วัตถุประสงค์ได้
    ข้อมูลที่อยู่ใน data warehouse มีคุณลักษณะหลายตัวที่ต่างจากข้อมูลใน OLAP system ตารางที่ จะอธิบายลักษณะที่ทำให้ข้อมูลมีประโยชน์ต่อการ query data warehouse
    ตารางที่ 2 แสดงลักษณะของข้อมูล
    Characteristic
    Description
    Consolidated
    รวบรวมข้อมูลจากองค์กร และเก็บไว้ที่ส่วนกลาง
    Consistent
    ข้อมูลใน data warehouse จะมีความสอดคล้องกัน
    Subject-oriented
    ข้อมูลประกอบด้วยสิ่งที่สารสนเทศที่สำคัญในทางธุรกิจ
    Historical
    ข้อมูลใน data warehouse เป็นประวัติ และมันแสดงลำดับตามเวลา
    Read-only
    อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว เพราะมันเป็นข้อมูลประวัติ
    Summarized
    data warehousing system สามารถสรุปเป็นลำดับที่เหมาะกับรายละเอียดได้

Data ining

ดาต้าไมน์นิ่ง (Data Mining) ถ้าแปลตรงๆ คือเหมืองข้อมูล คล้ายกับเหมืองแร่ ที่ขุดดินมาเยอะแต่ใด้แร่นิดเดียว Data Mining เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทาง AI (Artificial Intelligence) ดังนั้นข้อมูลที่จะพูดถึงต่อไป ท่านที่เคยศึกษา ด้าน AI (Artificial Intelligence) มาบ้างอาจคุ้นเคยเพราะหลายเทคนิคใน AI (Artificial Intelligence) ได้นำมาใช้กับData Mining ซึ่งเป็นการค้นหาความสัมพันธ์และรูปแบบทั้งหมด ซึ่งมีอยู่จริงในฐานข้อมูล ซึ่งสัมพันธ์และรูปแบบเหล่านั้นได้ถูกซ่อนไว้ภายในข้อมูลจํานวนมากที่มีอยู่ Data Mining จะทําการสํารวจและวิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เต็มไปด้วยความหมายและอยู่ในรูปของกฎ โดยความสัมพันธ์หน่วยนี้แสดงให้เห็นถึงความรู้ต่าง ๆ (Knowledge) ที่มีประโยชน์ในฐานข้อมูลในปัจจุบันองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่เผชิญกับปัญหาของ ข้อมูลดิบจํานวนมากแต่ข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ได้นั้นมีน้อย Data Mining จึงเป็นสาขาที่คาดว่าจะเป็นที่รู้จักและนํามาใช้ประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจาก Data Miningสามารถดึงความรู้ออกมาจากข้อมูลจํานวนมากที่ถูกเก็บสะสมและซ่อนไว้

วัฎจักรขั้นตอนการทํางานของ Data Mining วัฎจักรขั้นตอนการทํางานของData Miningประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ 1. การระบุโอกาสทางธุรกิจหรือการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเป็นการระบุขอบเขตของข้อมูลที่จะนํามาทําการวิเคราะห์เพื่อหาความได้เปรียบทางการตลาดหรือเพื่อนํามาทําการแก้ไขปัญหา 2. ส่วนของ Data Miningเป็นการนําเทคนิคของ Data Mining ไปใช้ถ้ายทอดหรือทําการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปของข้อมูลที่จะนําไปใช้ได้จริงในทางธุรกิจ 3. การปฏิบัติตามข้อมูลคือการนําเอาข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์ของส่วน Data Mining มาลองปฏิบัติจริงกับธุรกิจ 4. การวัดประสิทธิภาพจากผลลัพธ์การวัดประสิทธิภาพของเทคนิคของ Data Mining ที่จะนํามาใช้จากผลลัพธ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้หลายทาง เช่น วัดจากส่วนแบ่งของตลาด วัดจากปริมาณลูกค่า หรือ วัดจากกําไรสุทธิ เป็นต้น จากทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นคือการนําเอา Data Mining ไปใช้กับระบบทางธุรกิจ โดยแต่ละขั้นตอนจะพึ่งพาอาศัยกันผลลัพธ์จากขั้นตอนหนึ่งจะกลายมาเป็นอินพุทจากอีกขั้นตอนต่อไป ซึ่ง Data Mining จะเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลประยุกต์ ดังนั้นการระบุแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โลกสวยด้วยมือ.....ลาว (โอ๋)

สำนักงานเทศบาลตำบลบึงบูรพ์






ประวัติความเป็นมา







เทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบึงบูรพ์ ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยยกฐานะบางส่วนของตำบลบึงบูรพ์ เป็นเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ มีพื้นที่ 19.45 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ 40 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตตำบลบึงบูรพ์ รวม 9 หมู่บ้าน และตำบลเป๊าะ 4 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 2 บ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 3 บ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 4 บ้านโนนสาวสวย ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 5 ชุมชนจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 6 บ้านนาสวน ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 7 บ้านหนองหล่ม ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 8 บ้านบึงบูรพ์ ตำบลบึงบูรพ์
หมู่ที่ 9 บ้านบึงบูรพา ตำบลบึงบูรพ์
และครอบคลุมเขตตำบลเป๊าะบางส่วน ดังนี้
หมู่ที่ 2 บ้านหาด ตำบลเป๊าะ
หมู่ที่ 6 บ้านค้อ ตำบลเป๊าะ
หมู่ที่ 11 บ้านค้อใต้ ตำบลเป๊าะ
หมู่ที่ 14 บ้านหาดใหม่พัฒนา ตำบลเป๊าะ

ปัจจุบันเทศบาลได้ประกาศจัดตั้งชุมชนแล้วทั้งสิ้น 16 ชุมชน ดังนี้
1. ชุมชนบ้านเป๊าะ ตำบลบึงบูรพ์
2. ชุมชนคุ้มกลางสามัคคี ตำบลบึงบูรพ์
3. ชุมชนตลาดเก่า ตำบลบึงบูรพ์
4. ชุมชนบ้านโนนสาวสวย ตำบลบึงบูรพ์
5. ชุมชนนาสวน ตำบลบึงบูรพ์
6. ชุมชนหนองหล่ม ตำบลบึงบูรพ์
7. ชุมชนมิตรภาพ ตำบลบึงบูรพ์
8. ชุมชนบ้านบึงบูรพา ตำบลบึงบูรพ์
9. ชุมชนสวนสนุก ตำบลบึงบูรพ์
10.ชุมชนดอนคำแก้ว ตำบลบึงบูรพ์
11.ชุมชนรุ่งเรืองสะพังทอง ตำบลบึงบูรพ์
12. ชุมชนบ้านหาด ตำบลเป๊าะ
13. ชุมชนบ้านค้อ ตำบลเป๊าะ
14. ชุมชนบ้านค้อใต้ ตำบลเป๊าะ
15. ชุมชนบ้านหาดใหม่พัฒนา ตำบลเป๊าะ
16. ชุมชนจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ .


ภารกิจของเทศบาลตำบลบึงบูรพ์

1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา 50 (2) มาตรา 51 (8)) (2) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 51 (7)) (3) การสาธารณูปการ (มาตรา 51 (7)) (4) การควบคุมอาคาร
1.2 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) การจัดการศึกษา (2) การส่งเสริมกีฬา (3) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
1.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา 50 (1))

1.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิจของราษฎร (มาตรา 51 (5))

1.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม
1.6 ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 50 (8))
1.7 ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (2) สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (3) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น




ยุุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารและจัดการด้านสาธารณสุข
1.1 แนวทางบริหารงานบุคคลและบริหารงานทั่วไปด้านสาธารณสุข
1.2 แนวทางส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดีถ้วนหน้า มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการป้องกันโรคและดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 แนวทางควบคุมป้องกันและบำบัดโรค
1.4 แนวทางส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
1.5 แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข1.6ปรับปรุงอาคารสถานที่และจัดหาวัสดุเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์สาธารณสุขสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ
แนวทางที่ 1 : พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน 1) ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้แก่ประชาชน 2) ตั้งกลุ่มอาชีพใหม่ พร้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเงินทุน 3) จัดตั้งตลาดกลางรองรับสินค้าจากชุมชน 4) ก่อสร้างลานตากผลิตผลทางการเกษตร 5) คัดเลือกผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพให้เป็น สินค้า OTOP 6) ปรับปรุงซ่อมแซมตลาดสดเทศบาล 7) ก่อสร้างโรงสีข้าวชุมชน 8) ก่อสร้างซุ้มจำหน่ายสินค้าแบบเคลื่อนที่ 9) โครงการจัดหาบ้านHome Stay 10) จัดซื้อเครื่องคั่วถั่ว และเครื่องต้มไข่เค็ม
ยุทธศาสตร์ 3 ด้านสังคม
แนวทางที่ 1 : ส่งเสริมการศึกษาและสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา 1) มอบทุนการศึกษา 2) จัดงานวันเด็ก 3) จัดซื้อชุดสนามเด็กเล่น 4) จัดซื้อสื่อการเรียนการสอน และอุปกรณ์การเรียนการสอน 5) จัดงานวันบัณฑิตน้อย 6) โครงการอาหารกลางวัน 7) โครงการอาหารเสริม (นม) 8) โครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเขตเทศบาล
แนวทางที่ 2 : เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1) โครงการถนนตัวอย่างด้านความปลอดภัย (ถนนสีขาว) 2) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การจราจร และป้ายสัญญาณจราจร 3) โครงการฝึกอบรมให้ความรู้กฎหมายจราจร 4) โครงการฝึกอบรม และฝึกทบทวน (อปพร.) 5) จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ดับเพลิง 6) จัดซื้อวิทยุสื่อสาร 7) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ อปพร. 8) จัดซื้อรถยนต์ดับเพลิงตรวจการณ์ถังน้ำในตัว 9) ก่อสร้างอาคารศูนย์ อปพร. เทศบาลตำบลเนินมะปราง 10) จัดซื้อรถยนต์เคลื่อนที่เร็วพร้อมอุปกรณ์กู้ภัย 11) โครงการฝึกซ้อมแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและระงับอัคคีภัย
แนวทางที่ 3 : สงเคราะห์คนชรา ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 1) สงเคราะห์คนชรา (เบี้ยยังชีพ) 2) สงเคราะห์ผู้ประสบภัย 3) สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 4) สงเคราะห์ผู้พิการ (เบี้ยยังชีพ)
แนวทางที่ 4 : การจัดสวัสดิการ นันทนาการ บริการสาธารณะ 1) ก่อสร้างสวนหย่อม , สวนสาธารณะ และสวนสุขภาพ 2) จัดซื้ออุปกรณ์กีฬา และเครื่องดนตรีให้กับกลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ ชุมชนในเขตเทศบาล 3) จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องครัว เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ให้กับชุมชน 4) ก่อสร้างรั้วรอบศาลเจ้าพ่อแสนเมือง 5) ก่อสร้าง ฌาปนสถาน (เมรุ)
แนวทางที่ 5 : การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1) รณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) โครงการแข่งขันกีฬาชุมชนสัมพันธ์ กีฬาเด็กเล็ก (อนุบาล 3 ขวบ)กีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ และกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น 3) โครงการฝึกอบรมชุมชนต้านยาเสพติด
แนวทางที่ 6 : การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา และแก้ไขปัญหา 1) เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร 2) อบรมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชน กลุ่มสตรี และกลุ่มเยาวชน ศึกษาดูงาน 3) สำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานชุมชน (จปฐ.) 4) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย แก่ประชาชน 5) จัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลเนินมะปราง 6) จัดตั้งกลุ่มเยาวชนและ องค์กรเด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาล
แนวทางที่ 7 : พัฒนาระบบการให้ข้อมูลข่าวสาร 1) ติดตั้งเสียงตามสาย 2) ซ่อมแซมเสียงตามสาย หอกระจายข่าว และเครื่องขยายเสียง 3) กั้นห้องประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลเนินมะปราง 4) ก่อสร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำชุมชน 5) จัดทำวารสารและรายงานกิจการเทศบาลตำบลเนินมะปราง
แนวทางที่ 8 : การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคต่างๆ มีการบริโภค ที่ถูกต้อง และสนับสนุนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 1) โครงการฝึกอบรมการป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน 2) รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและกำจัดสุนัขจรจัด 3) ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4) ชุมชนเข้าใจเอดส์ 5) โครงการส่งเสริมกิจกรรมของ อสม. 6) ส่งเสริมสุขภาพแอโรบิด 7) อบรมสุขาภิบาลอาหาร และทัศนะศึกษาดูงานสำหรับผู้ประกอบการค้าอาหาร 8) ตรวจสอบสารพิษตกค้างในอาหารสด อาหารแห้ง 9) จัดซื้อเคมีกำจัดยุง และแมลงต่าง ๆ 10) โครงการคัดกรองโรคเบาหวานผู้สูงอายุ 11) โครงการต่อต้านมะเร็งเต้านมในสตรี 12) โครงการบำบัดรักษาโรคด้วยแพทย์แผนไทย 13) จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางที่ 1 : การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคต่างๆ มีการบริโภค ที่ถูกต้อง และสนับสนุนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 1) ก่อสร้างถนน 2) ก่อสร้างถนนและวางท่อระบายน้ำ 3) ขยายผิวจราจร 4) ก่อสร้างทางเท้า 5) ปรับปรุงซ่อมแซมถนน 6) ก่อสร้างรางระบายน้ำ 7) ก่อสร้างท่อระบายน้ำ 8) ก่อสร้างฝายน้ำล้น 9) ปรับปรุงซ่อมแซมท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ 10) ขุดลอกหน้าฝาย 11) ขุดลอกคลอง 12) ขุดลอกลำเหมือง 13) ปรับปรุงฝายน้ำล้น 14) ขุดลอกสระน้ำ 15) วางท่อระบายน้ำ 16) ปรับปรุงซ่อมแซมไหล่ทางลงลูกรัง 17) ขุดบ่อบาดาล ขุดบ่อน้ำตี้นและขุดสระน้ำ 18) ก่อสร้างดาดคอลกรีตเรียงหินก้อนใหญ่ 19) ก่อสร้างสะพาน
แนวทางที่ 2 : ก่อสร้างระบบประปา 1) ขยายเขตประปาในเขตเทศบาล 2) ปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปา 3) ก่อสร้างประปาชุมชน
แนวทางที่ 3 : ขยายเขตไฟฟ้า, โทรศัพท์ 1) ขยายเขตไฟฟ้าพร้อมติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าในเขตเทศบาล 2) ซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะพร้อมวัสดุอุปกรณ์ 3) ติดตั้งโคมไฟสาธารณะและวัสดุอุปกรณ์ 4) จัดซื้อวัสดุไฟฟ้า 5) ติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะในเขตเทศบาล 6) ขยายเขตไฟฟ้าเข้าที่ดินที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเนินมะปราง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นแนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 : การจัดกิจกรรมเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 1) ประเพณีแห่เทียนพรรษา 2) ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ 3) วันเทศบาล 4) วันแม่แห่งชาติ 5) วันพ่อแห่งชาติ 6) ประเพณีลอยกระทง 7) วันรัฐพิธีต่าง ๆ 8) ประเพณีสงกรานต์ และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 9) สนับสนุนวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการบริหารจัดการองค์กร
แนวทางที่ 1 : พัฒนาเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทันสมัย และสถานที่ปฏิบัติงาน 1) สรรหาบุคลากร 2) จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน 3) ฝึกอบรม สัมมนา และทัศนะศึกษาดูงาน 4) ทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ 5) ก่อสร้างต่อเติมอาคารสำนักงานเทศบาลตำบลเนินมะปราง 6) ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอาคารสำนักงาน และอาคารที่อยู่ในบริเวณ 7) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เทศบาล 8) จัดซื้อเครื่องบันทึกข้อมูล จปฐ. (Pocket PC ) 9) จัดซื้อรถตู้ขนาด 12 ที่นั่ง 10) ก่อสร้างอาคารเก็บพัสดุกลาง 11) ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม(อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง) 12) ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 13) ก่อสร้างเวทีแบบเคลื่อนย้ายได้พร้อมเครื่องขยายเสียง 14) จัดซื้อพัดลมไอน้ำ 15) จัดซื้อพัดลมโรงอาหารศูนย์เด็กเล็ก(อนุบาล 3 ขวบ) 16) ติดตั้งโทรศัพท์อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (อนุบาล 3 ขวบ)
แนวทางที่ 2 : สนับสนุนหน่วยงานอื่น ในการบริหารจัดการตามภาระหน้าที่เทศบาล 1) อุดหนุนชุมชน กลุ่มอาชีพ ชมรม หน่วยงาน หรือส่วนราชการอื่น
แนวทางที่ 3 : สนับสนุน พัฒนาระบบการตรวจสอบภายในเพื่อป้องกัน ปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่น 1) โครงการอบรมสร้างจิตสำนึกผู้ปฏิบัติงาน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารต่าง ๆ 3) โครงการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชนในการตรวจสอบ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4) โครงการปรับปรุงห้องข้อมูลข่าวสาร

โครงสร้างบุคลากร

  • สำนักปลัด
  1. นายวิศิษฐ์ ทองรอง ตำแหน่ง ปลัดเทศบาล
  2. นายประจักร ปาปะโต " หัวหน้าสำนักปลัด
  3. นายพาคีนัย อาจสาลี " นิติกร
  4. นางนิตยา ปาปะโต " จนท.วิเคราะห์
  5. นางนลิตลา ปัดสาพันธ์ " จนท.บริหารงานทั่วไป
  6. นางจันทร์เจ้า ศรีวิลัย " จนท.บันทึกข้อมูล
  7. นางชนัฐตา บุญเย็น " จพง.ธุรการ
  • กองคลัง
  1. นางสาวจิตตา สมณา ตำแหน่ง หัวหน้าส่วนการคลัง
  2. นางรวงทอง บุญธรรม " จพง.พัสดุ
  3. นางชิดกมล เกินกลาง " จนท.พัสดุ
  4. นางษฎุดี สุขศิริ " จนท.จัดเก็บรายได้
  5. นางอิงอร เอี่ยมอ่อน " จนท.จัดเก็บรายได้
  6. นางรัตนา มะเดื่อ " ผช.จนท.ธุรการ
  7. นางพิสมัย โคตรสวรรค์ " ผช.จนท.การเงินและบัญชี
  8. นายวุฒิพงษ์ นิยมพันธ์ " ผช.จนท.จัดเก็บรายได้
  9. นายชัชวาล สุขศิริ " ผช.จนท.จัดเก็บรายได้
  • กองช่าง
  1. นายสุธีร์ คำนนท์ ตำแหน่ง นักบริหารงานช่าง
  2. นายณัฐวุฒิ ราศรี " นายช่างโยธา 2
  3. นายสังวาล นิลกิจ " ผช.ช่างโยธา
  • กองประปา
  1. จ.อ.ชัยรัตน์ สุจิณพำ ตำแหน่ง จนท.ป้องกัน ฯ3
  2. นายนราวุฒิ เจียงวงศ์ " จนท.ประปา
  3. นายกรุง เอี่ยมอ่อน " คนงาน
  4. นายเกษม ศรีโคตร " คนงาน
  5. นางนุชิดา รัตนวรรณ " คนงาน

  • กองสาธารณะสุข

  1. นางถาวร กุลฤทธิ์ ตำแหน่ง จนท.ส่งเสริมสุขภาพ
  2. นางสาวภัทรกาญจน์ ศรีนนท์ " คนงาน
  3. นายประเสริฐ พรหมทา " คนงานประจำรถขยะ
  4. นายวีระศักดิ์ แดงงาม " พนง.ประจำรถขยะ
  5. นายธงชาติ บุญเย็น " พนง.ประจำรถขยะ
  • กองการศึกษา
  1. นางสิริโฉม ชัยพรรณา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา 4
  2. นายภัคพงศ์ ปัญจศุภวงศ์ " นักพัฒนาชุมชน 3
  3. นางกล้วยไม้ แสงตะวัน " พนง.พิมพ์ดีด
  4. นางศิริพร ถึงไชย " จพง.ประชาสัมพันธ์
  5. นางเจียมจิตร สุทธวี " คนงาน